วันอังคารที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ประเภทและหลักการจัดหาทรัพยากรการเรียนรู้

1. ข่าวของมหาวิทยาลัยบูรพาในหน้าหนังสือพิมพ์จัดอยู่ในประเภทของทรัพยากรการเรียนรู้ใดและมีชื่อเรียกว่าอะไร
ตอบ   -อยู่ในประเภท   สื่อทรัพยากรการเรียนรู้ที่ตีพิมพ์
           - มีชื่อเรียกว่า     สิ่งพิมพ์ต่อเนื่องที่เป็นหนังสือพิมพ์รายวัน
2. ถ้าต้องการคัดเลือกสื่อวีดิทัศน์มาให้บริการนิสิตจะมีหลักการอย่างไร ในการคัดเลือกสื่อดังกล่าว
ตอบ  1.  ต้องสัมพันธ์กับหลักสูตรการเรียนการสอนในสถานศึกษานั้น ๆ
          2.  เนื้อหาถูกต้อง ทันสมัย น่าสนใจ น่าเสนอเนื้อหาได้ดีเป็นลำดับขั้นตอน
          3. เหมาะสมกับวัย ระดับชั้น ความรู้ และประสบการณ์
          4. มีคุณภาพ มีเทคนิคการผลิตที่ดี มีความชัดเจนและเป็นจริง
          5.มีความสะดวกในการใช้   คุ้มกับเวลาและการลงทุน
          6.ราคาไม่แพง
3. การจัดซื้อทรัพยาการเรียนรู้มีกี่วิธีการ อะไรบ้า
ตอบ  มี 4 วิธี คือ
1. สั่งซื้อโดยตรง : ในประเทศ / ต่างประเทศ
2. สั่งซื้อผ่านร้าน/ตัวแทนจำหน่าย : ในประเทศ / ต่างประเทศ
3. สั่งซื้อผ่านเว็บไซต์ : ในประเทศ / ต่างประเทศ
4. จัดซื้อในรูปภาคีร่วมกับศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ สถาบันอุดมศึกษาอื่นๆ

แบบฝึกหัดท้ายหน่วยการเรียนรู้ที่ 9

การรายงานผลมีความสำคัญอย่างไร ต่อการจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้
ตอบ  การรายงานผลมีความสำคัญต่อการจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้เพราะ การรายงานผลเป็นส่วนสำคัญในการแสดงข้อมูลอย่างเป็นระบบซี่งเนื้อหาสาระของ รายงานที่สำคัญประกอบไปด้วย 
วัตถุประสงค์ของการจัดทำรายงาน 
บทนำ ซึ่งเป็นการให้รายละเอียดทั่วไปของหน่วยงาน ในส่วนบทนำจะประกอบไปด้วยวัตถุประสงค์ของการดำเนินงาน, หลักการและเหตุผลของการดำเนินงาน, รายชื่อผู้ร่วมงาน, รายชื่อที่ปรึกษา, ระยะเวลาการดำเนินงาน, งบประมาณ, ปัญหาอุปสรรคที่พบระหว่างการทำงาน 
สาระของรายงาน ซึ่งสามารถจัดให้อยู่ได้ในหลากหลายรูปแบบเช่น ตามขั้นตอนหรือวิธีการทำงาน, ตามลักษณะอุปสรรคปัญหา และวิธีการแก้ไข, รายงานตามแบบฟอร์มขององค์กร, รายงานเป็นตารางกำหนดการทำงาน, บรรยายสภาพการทำงานอย่างละเอียดเพื่อให้เห็นปัญหาที่เกิดขึ้น (รายงานผลการศึกษาวิธีการทำงาน : Method Study), รายงานด้วยแผนภูมิ แสดงความเชื่อมโยงของงานแต่ละหน่วยงาน, รายงานเป็นภาพจำลอง เช่น ภาพจำลองการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ 
สรุปผลการรายงาน
 ภาคผนวก เป็นรายงานอื่นๆ สถิติอื่นๆ ที่นำมาประกอบการรายงานหรือผลการตรวจสอบครั้งที่แล้ว แบบสอบถาม สำเนาภาพถ่าย ภาพถ่าย ฯลฯ
     โดยทั้งเนื้อหารายงานนี้จัดทำขึ้นเพื่อแจ้งให้กับผู้บังคับบัญชา หรือสาธารณชนได้รับทราบจุดประสงค์ของการดำเนินงาน ผลของงาน  และเป็นการนำเสนอเพื่อนำไปใช้อ้างอิงในการปรับปรุงงานในครั้งต่อๆไปของ ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้นั้นๆ

แบบฝึกหัดบันทึกลงใน Blogger

1. สิ่งสำคัญเบื้องต้นของการประสานงานมีอะไรบ้าง
ตอบ   1.การจัดวางหน่วยงานที่ง่ายและเหมาะสม
2.การมีโครงการและนโยบายอันสอดคล้องกัน
3.การมีวิธีติดต่องานภายในองค์การที่ทำไว้ดี
4.มีเหตุที่ช่วยให้มีการประสานงานโดยสมัครใจ
5.การประสานงานโดยวิธีควบคุม


2. เทคนิคการประสานงาน (Techniques Coordination) มีอะไรบ้าง
ตอบ   1.จัดให้มีระบบการติดต่อสื่อสารทั้งภายในหน่วยงานและภายนอกหน่วยงานอย่างมีประสิทธิภาพ
2.การกำหนดอำนาจหน้าที่และตำแหน่งงานอย่างชัดเจน
3.การสั่งการและการมอบหมายอานาจหน้าที่และความรับผิดชอบ
4.การใช้คณะกรรมการหรือเจ้าหน้าที่ที่ทาหน้าที่ประสานงานโดยเฉพาะการประสานงานภายในองค์การ
5.การจัดให้มีการประสานงานระหว่างพนักงานในองค์การ
6.การจัดให้มีการฝึกอบรมและพัฒนาผู้ใต้บังคับบัญชา
7.การติดตามผล


3. จงอธิบายอุปสรรคของการประสานงาน มาพอเข้าใจ
ตอบ   1.การขาดความเข้าใจอันดีต่อกันระหว่างผู้ปฏิบัติงานด้วยกันจะกลายเป็นสาเหตุ ทำให้การติดต่อประสานงานที่ควรดำเนินไปด้วยดี ไม่สามารถกระทำได้
2.การขาดผู้บังคับบัญชาหรือผู้บริหารที่มีความสามารถ
3.การปฏิบัติงานไม่มีแผน ซึ่งเป็นการยากที่จะให้บุคคลอื่น ๆ ทราบวัตถุประสงค์และวิธีการในการทำงาน
4.การก้าวก่ายหน้าที่การงาน
5.การขาดการติดต่อสื่อสารที่ดีย่อมทำให้การทำงานเป็นระบบที่ดีของความร่วมมือขาดความเข้าใจซึ่งกันและกัน
6.การขาดการนิเทศงานที่ดี
7.ความแตกต่างกันในสภาพและสิ่งแวดล้อม
8.การดำเนินนโยบายต่างกันเป็นอุปสรรคต่อการประสานงาน
9.ประสิทธิภาพของหน่วยงานต่างกันจะเป็นการยากที่จะก่อให้เกิดมีความร่วมมือและประสานงานกันเพราะแสดงว่ามีฝีมือคนละชั้น
10.การทำหน้าที่ความรับผิดชอบและอำนาจไม่ชัดแจ้งทาให้ผู้ปฏิบัติงานเกิดความกังวลใจและอาจไปก้าวก่ายงานของบุคคลอื่นก็ได้
11.ระยะทางติดต่อห่างไกลกัน
12.เทคนิคและวิธีการปฏิบัติงานในแต่ละหน่วยงานแตกต่างกัน
เนื่องมาจากการกุมอำนาจหรือการกระจายอำนาจมากเกินไป

กิจกรรมท้ายหน่วยการเรียนรู้ที่ 5 แบบทดสอบท้ายบท หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 เรื่องการบริหารงานบุคคล ประจำศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้

แบบทดสอบท้ายบท หน่วยการเรียนรู้ที่ 5

การบริหารงานบุคคล ประจำศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้
1.อธิบายภารกิจหรือกิจกรรมที่สำคัญๆของศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้มีอะไรบ้าง 
ตอบ  - การจัดหาสื่อประเภทต่างๆ ไว้สาหรับบริการ
การผลิตสื่อเพื่อนามาใช้ในการเรียนการสอน
การจัดระบบ จัดเก็บ แยกหมวดหมู่และจัดทาทะเบียน 
การบริการให้ยืมวัสดุ เครื่องมืออุปกรณ์
การให้คาปรึกษา แนะนาการใช้และการผลิตสื่อ 
การวิจัยและพัฒนาสื่อ

2. ถ้าหากพิจารณาบทบาทหน้าที่ และความรับผิดชอบในศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ จะประกอบด้วยบุคคลด้านใดบ้าง 
ตอบ ด้าน บริหาร โดยต้องมีการกำหนดวิสัยทัศน์ จุดมุ่งหมายและภารกิจต่างๆ ให้ครอบคลุมงานหรือสิ่งที่ต้องทำการจัดดาเนินงาน การจัดบุคลากร การนิเทศ การติดต่อประสานงาน การทำงบประมาณ การกำหนดมาตรฐานของงาน เพื่อให้หน่วยงานบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ 
ด้านการบริการ เป็นภารกิจของศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ที่นาโครงการต่างๆออกสู่ กลุ่มเป้าหมาย
ด้านการผลิตสื่อ ทำหน้าที่ในการออกแบบและผลิตสื่อการเรียนการสอน
ด้านวิชาการ ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ต้องมีบทบาทและหน้าที่ในการศึกษาค้นคว้า พัฒนาและเผยแพร่ผลงาน 
ด้าน การปรับปรุงการเรียนการสอน ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ต้องมีภารกิจหน้าที่ความรับผิดชอบต่อการศึกษาเป็น สำคัญในการจัดหาสื่อมาใช้ในการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและ เนื้อหาแต่ละวิชา 
ด้านกิจกรรมอื่น

3. ผู้ปฏิบัติงานในศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ จำแนกเป็นประเภทที่สำคัญได้กี่ประเภท 
ตอบ  1. บุคลากรทางวิชาชีพ (Professional Staff) 
2. บุคลากรกึ่งวิชาชีพ (Paraprofessional Staff) บุคลากร กึ่งวิชาชีพ คือ บุคคลที่ได้วุฒิประกาศนียบัตรวิชาชีพโดยมีหน้าที่ช่วยเหลือบุคลากรทาง วิชาชีพเกี่ยวกับด้านเทคนิคหรือด้านบริการ 
3. บุคลากรที่ไม่มีความรู้ทางวิชาชีพ (Non-professional Staff) บุคลากร ประเภทนี้ทำหน้าที่ทางด้านธุรกิจ เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ ฯลฯ ซึ่งจะมีคุณวุฒิหลากหลายจะใช้ความรู้ความชำนาญเฉพาะในหน้าที่ของตน ดังนั้นจะเห็นได้ว่าจานวนบุคคลในแต่ละประเภทจะมีมากหรือน้อยย่อมขึ้นอยู่กับ นโยบาย ขนาดหรือปริมาณของงาน ขอบเขตของการให้บริการ ลักษณะของระบบงานบริการ จานวนผู้ใช้บริการ และงบประมาณของศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้แต่ละแห่งเป็นสำคัญ

4. ท่านมีขั้นตอนในการจัดหาสื่อการเรียนการสอน มาใช้บริการในศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้อย่างไร จงอธิบาย
ตอบ  ขั้นตอนที่ 1 เป็นขั้นการสำรวจสภาพของสื่อในสถานศึกษาเพื่อสำรวจหาข้อเท็จจริงเบื้องต้นเป็นข้อมูลมาประกอบการจัดหา
ขั้นตอนที่ 2 การ สำรวจสถานที่ เป็นขั้นตอนการสำรวจวางแผนจะให้สถานที่ส่วนใดบ้างในการทำกิจกรรม เพื่อเป็นการตรวจสอบดูว่ามีสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวกที่ต้องการมีเพียง พอแล้วหรือยังและจะต้องการจัดหาอะไรเพิ่มเติมบ้าง
ขั้นตอนที่ 3 การ สำรวจความต้องการของผู้ใช้ เพื่อต้องการทราบถึงความต้องการใช้สื่อประเภทต่างๆ โดยนำข้อมูลที่ได้ไปดำเนินการจัดหาให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ ดังนั้นก่อนการจัดหาหรือจัดซื้อสื่อมาไว้บริการ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสำรวจและศึกษาความต้องการของผู้ใช้ก่อนเสมอ 
ขั้นตอนที่ 4 เป็น ขั้นการจัดหา โดยนำข้อมูลที่ได้มาจากความต้องการแล้วทำเป็นโครงการสั้นๆ หรือโครงการระยะยาวเพื่อวางแผนในเรื่องงบประมาณในการจัดหาต่อไป

5 . อธิบายวิธีการจัดซื้อจัดหาวัสดุครุภัณฑ์เพื่อมาใช้ในกิจกรรมและบริการ ท่านมีหลักเกณฑ์สeคัญอะไรบ้าง
ตอบ  1. ความคงทน(Ruggedness) โดยพิจารณาถึงวัสดุที่ประกอบเป็นตัวเครื่องให้ความคงทนแข็งแรง ไม่แตกหักง่าย 
2. ความสะดวกในการใช้งาน (Ease of Operation) โดยพิจารณาถึงการควบคุม การบังคับกลไกไม่ซับซ้อนจนเกินไปหรือมีปุ่มต่างๆมากมายเกินไป 
3. ความกะทัดรัด (Portability) โดยพิจารณาถึงขนาดของตัวเครื่อง น้ำหนัก ความสะดวกในการเก็บและเคลื่อนย้าย 
4. คุณภาพของเครื่อง(Quality of Peration) เป็นการพิจารณาเกี่ยวกับมาตรฐานที่ประกอบรวมกันเป็นไปตามคุณสมบัติต้องการใช้งานเพียงใด 
5. การออกแบบ (Design) เป็นการพิจารณาเกี่ยวกับรูปลักษณ์ว่าสวยงามมีความทันสมัย การติดตั้งอุปกรณ์ประกอบออกแบบให้ใช้ได้ง่าย 
6. ความปลอดภัย (Safety) เป็นการพิจารณาว่ามีส่วนใดส่วนหนึ่งที่น่าจะเกิดอุบัติเหตุหรืออันตรายได้ง่ายขณะใช้งาน
7. ความสะดวกในการบำรุงรักษาละซ่อมแซม (Ease of Maitenance and Repair) เป็นการ พิจารณาว่ามีส่วนประกอบใดที่ยุ่งยากต่อการซ่อมแซมหรือมีความยากลำบากในการ ดูแลรักษาหรือมีส่วนประกอบที่เป็นเทคโนโลยีขั้นสูงเมื่อชำรุดแล้วไม่สามารถ ซ่อมแซมได้เลย 
8. ราคา (Cost) ใน การจัดซื้อจัดหาวัสดุอุปกรณ์มาใช้หรือเพื่อบริการควรคำนึงถึงราคาซึ่งไม่แพง เกินไปที่สำคัญพิจารณาถึงความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการใช้งานแล้วจึงนำ ไปเปรียบเทียบกับยี่ห้ออื่น เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดเหมาะสมกับราคาและคุณภาพของเครื่องมืออุปกรณ์ นั้น 
9. ชื่อเสียงของบริษัทผู้ผลิต(Reputation of Manufacturer) การ พิจารณาบริษัทผู้ผลิตเพื่อจะได้ทราบว่าวัสดุอุปกรณ์ที่ซื้อนั้นมีจำนวนและ รุ่นที่ผลิตออกมามากน้อยพียงใด หากเป็นบริษัทที่มั่นคงมีชื่อเสียงจะเห็นได้ว่ามีระบบการผลิต ระบบการจัดการอื่นๆ ที่ได้มาตรฐาน ทำให้วัสดุอุปกรณ์มีคุณภาพและน่าเชื่อถือ 
10. การบริการซ่อมแซม (Available Service) อุปกรณ์ เครื่องมือต่างๆ ควรเป็นแบบที่สามารถซ่อมแซมได้ง่าย รวดเร็วและมีบริการดูแลบำรุงรักษาที่เอาใจใส่ดูแลบำรุงสม่ำเสมอและมีอะไหล่ สำรองไว้เพียงพอหรือเมื่อมีปัญหาทางบริษัทสามารถแก้ปัญหาให้รวดเร็ว

วันเสาร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

โครงสร้างองค์กร ของศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้

ตัวอย่างผังโครงสร้างของศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้





โครงสร้างศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ


 




โครงสร้างดังกล่าวเป็น ของศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ เป็นโครงสร้างแบบ Line and Staff Organization เพราะไม่สามารถบริหารงานคนเดียวได้ต้องอาศัยคณะกรรมการ หรือที่ปรึกษา เข้ามาเป็นผู้ช่วยควบคุมงาน โดยมีอำนาจทางอ้อมในการดำเนินการนั้นๆ



อ้างอิง
http://www.nanotec.or.th/nanotec_th/index.php status=about_us&s_status=a_organization _chart







โครงสร้างศูนย์สหกิจศึกษาและพัฒนาอาชีพ 

 




โครงสร้างดังกล่าวเป็น ศูนย์สหกิจศึกษาและพัฒนาอาชีพ มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นโครงสร้างประเภท Line Organization เพราะเป็นรูปแบบการจัดโครงสร้างตามงานที่รับผิดชอบตามที่ละลำดับขั้น จากระดับขั้นสูงสุดถึงระดับขั้นต่ำสุด



อ้างอิง
http://www.co-op.neu.ac.th/?page_id=127
http://www.nanotec.or.th/nanotec_th/index.php status=about_us&s_status=a_organization _chart

 

กิจกรรม Home Exam ท้ายหน่วยการเรียนรู้

1.ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ถ้าแบ่งตามกลุ่มเป้าหมายของระบบการศึกษาได้กี่ประเภท อะไรบ้าง จงอธิบาย


   ประเภทของศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้นั้นขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์และเป้าหมายของการจัดตั้ง ซึ่งสามารถจัดประเภทโดยยึดรูปแบบการจัดการศึกษาได้ 3 ประเภท ดังนี้

        1.    ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ สำหรับการศึกษาในระบบโรงเรียน หมายถึง หน่วยงานที่สนับสนุนการเรียนการสอนทั้งสื่อ วัสดุ อุปกรณ์ ซึ่งมีการดำเนินการได้หลายลักษณะและมีชื่อเรียกต่างกัน ได้แก่ ศูนย์สื่อการศึกษา หรือหน่วยบริการสื่อการศึกษา, ศูนย์โสตทัศนศึกษา หรือหน่วยโสตทัศนศึกษา, ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา หรือหน่วยเทคโนโลยีการศึกษา, ศูนย์วิทยาการหรือสถาบันวิทยบริการ, ศูนย์ทรัพยากรการศึกษา หรือศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ 

ชื่อเรียกศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ ได้แก่ ศูนย์วัสดุการเรียน, ศูนย์โสตทัศน์และห้องสมุด, ศูนย์วัสดุอุปกรณ์การศึกษา ศูนย์สื่อการสอน, ศูนย์โสตทัศนวัสดุ, ศูนย์วัสดุการสอนหรือศูนย์วัสดุการศึกษา ศูนย์โสตทัศนูปกรณ์ หรือหน่วยบริการโสตทัศนูปกรณ์, สานักเทคโนโลยีการศึกษา, ศูนย์เทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษา เป็นต้น
             
   2.    ศูนย์ ทรัพยากรการเรียนรู้ สำหรับการศึกษานอกระบบ หมายถึง ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ที่มีเป้าหมายโดยมุ่งการให้บริการกับผู้เรียนที่มี จุดมุ่งหมายที่จะให้ผู้เรียนได้รับความรู้ด้านพื้นฐาน ทักษะในการประกอบอาชีพ และทักษะที่จำเป็นสำหรับความรู้ด้านอื่นๆ เป็นฐานในการดำรงชีวิต เช่น ศูนย์ฝึกอาชีพ, ศูนย์การเรียน เป็นต้น

    3. ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ สำหรับการศึกษาตามอัธยาศัย หมายถึง ศูนย์รวมและให้บริการความรู้โดยมุ่งให้กลุ่มเป้าหมายได้ศึกษาจากประสบการณ์การทำงาน บุคคล ครอบครัว สื่อมวลชน ชุมชน แหล่งความรู้ต่างๆ เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ทักษะ ความบันเทิง และการพัฒนาคุณภาพชีวิต เช่น พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ เป็นต้น


2.ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้แต่ละประเภทแตกต่างกันอย่างไร จงอธิบาย
     1.ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ประเภทการศึกษาในระบบ เป็นศูนย์ที่สนับสนุนการเรียนการสอนทั้งสื่อ วัสดุ อุปกรณ์ ให้สอดคล้องกับหลักสูตรการเรียนการสอน โดยมีการกำหนดจุดมุ่งหมาย ของวิธีการศึกษา หลักสูตร ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษาที่แน่นอน 

     2. ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ประเภทการศึกษาในระบบ เป็นศูนย์ที่สนับสนุนการเรียนการสอนทั้งสื่อ วัสดุ อุปกรณ์ ให้สอดคล้องกับหลักสูตรการเรียนการสอน โดยมีการกำหนดจุดมุ่งหมาย ของวิธีการศึกษา หลักสูตร ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษาที่แน่นอน 

     3. ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ประเภทการศึกษาตามอัธยาศัย เป็นการศึกษาที่เกิดขึ้นตามวิถีชีวิตที่ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเองตาม ความสนใจ ศักยภาพ ความพร้อม และโอกาสศึกษาจากประสบการณ์การทำงาน บุคคล แหล่งความรู้ต่างๆ เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ทักษะโดยไม่มีหลักสูตร ไม่มีเวลาเรียนที่แน่นอน ไม่จำกัดอายุ ไม่มีการลงทะเบียน ไม่มีการสอบ ไม่มีการรับประกาศนียบัตร มีหรือไม่มีสถานศึกษาที่แน่นอน
 3. ให้นิสิตหาตัวอย่างศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ประเภท ละ 3 ศูนย์ พร้อมบอกสถานที่ตั้ง และกลุ่มเป้าหมายของศูนย์นั้น ๆ พร้อมแหล่งอ้างอิง
1. ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ในระบบ
1.1 สำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
สถานที่ตั้ง : 239 ถนนห้วยแก้ว อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50200
แหล่งอ้างอิง : http://library.cmu.ac.th/cmul/

1.2 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
สถานที่ตั้ง : เลขที่ 50 ถนนพหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900
แหล่งอ้างอิง : http://www.ku.ac.th/portal/

1.3 ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยบูรพา
ฝ่ายบรรณสารและสารสนเทศฯชั้น 3 ห้อง300 
ที่อยู่ : อาคาร 60 พรรษามหาราชินี (QS1)คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาต.แสนสุข อ.เมือง จ.ชลบุรี

2. ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้นอกระบบ
2.1 ศูนย์การเรียนรู้ทรัพยากรน้ำและสิ่งแวดล้อม
ที่ตั้ง : โรงบำบัดน้ำเสียส่วนกลางนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง  49/19  ต.ทุ่งสุขลา  อ.ศรีราชา 
จ.ชลบุรี 

2.2  ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดระยอง
ที่อยู่ : เลขที่ 22 ถนนไอ - หนึ่ง ต.มาบตาพุด อ.เมือง จ.ระยอง 21150
โทรศัพท์ : 038-683951-3

2.3 ศูนย์ฝึกอาชีพสวนลุมพินี
สถานที่ตั้ง : สวนลุมพินี ติดที่จอดรถด้านใน ประตู 8 ใกล้ ถนนสารสิน เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานครกลุ่มเป้าหมาย
อ้างอิง : http://www.suanlumtrain.com/ 

3. ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ตามอัธยาศัย
3.1 สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ Museum Siam
สถานที่ตั้ง : เลขที่ 4 ถนนสนามไชย แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200 อ้างอิง : http://museumsiam.com/

3.2พิพิธภัณฑ์ธนาคารไทย
ที่ตั้ง : เลขที่ 9 ถนนรัชดาภิเษก จตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900
อ้างอิง : http://www.thaibankmuseum.or.th/

3.3 พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาเกาะและทะเลไทย
สถานที่ตั้ง : ตั้งอยู่บนเขาหมาจอ ต.แสมสาร อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี
แหล่งอ้างอิง : http://www.tis-museum.org/index_sub.html

ศูนย์สำหรับการศึกษาตามอัธยาศัยมา



 


องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ

 

 

 

องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่ง ชาติ เป็นหน่วยงานของไทย สังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตั้งอยู่ที่เทคโนธานี ต.คลองห้า อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี มีชื่อย่อว่า อพวช. หรือ NSM (ย่อมาจาก National Science Museum) บริเวณที่ตั้งนี้ประกอบด้วยอาคาร 3 หลัง ได้แก่ อาคารพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์มหาราชินี (อาคารรูปลูกบาศก์), อาคารพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา และ อาคารพิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีและสารสนเทศภายในแบ่งเป็นนิทรรศการ 6 ชั้น คือ...

          ชั้นที่ 1. ส่วนต้อนรับ และแนะนำการเข้าชม
          ชั้นที่ 2. ประวัติการค้นพบและการประดิษฐทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี
          ชั้นที่ 3. วิทยาศาสตร์พื้นฐาน และพลังงาน
          ชั้นที่ 4. วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีเกี่ยวกับประเทศไทย
          ชั้นที่ 5. วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีในชีวิตประจำวัน
          ชั้นที่ 6. เทคโนโลยีภูมิปัญญาไทย

          ได้สร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 5 รอบ เพื่อให้เป็นแหล่งความรู้ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กๆ ครอบครัว ประชาชนทั่วไป และนักท่องเที่ยว โดยมีแนวคิดที่จะสร้างประสบการใหม่ที่น่าตื่นเต้น และมีสาระ เปิดโอกาสให้พวกเราชม ทดลอง สัมผัส และค้นหาคำตอบด้วยตนเอง มีการจัดแสดงผลงาน เชื่อมโยงเทคโนโลยีสากลกับเทคโนโลยีที่เป็นภูมิปัญญาไทย นิทรรศการ และการแสดง


ประวัติความเป็นมา

          ปี 2533 คณะรัฐมนตรีมีมติให้จัดตั้งพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ ขั้นโดยให้ กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม พัฒนาโครงการ และรับผิดชอบงาน

          ปี 2534 คณะรัฐมนตรีอนุมัติให้โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์เป็นโครงการ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ พระชนมพรรษา 5 รอบ กำหนดกรอบงบประมาณโครงการ 650 ล้านบาท

          ปี 2535 ได้รับจัดสรรงบประมาณเพื่อพัฒนาพื้นที่ก่อสร้าง ศึกษารูปแบบการบริหารจัดทำแผนแม่บท

          ปี 2537 เริ่มก่อสร้างอาคารพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ งบการดำเนินการ 514.29 ล้านบาท

          ปี 2538 คณะรัฐมนตรีอนุมัติ พระราชกำหนด จัดตั้ง องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์(อพวช.) ประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2538 และมีการแต่งตั้งคณะกรรมการ อพวช. เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2538

          ปี 2540 เริ่มงานออกแบบ จัดทำ และติดตั้งนิทรรศการในพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์เริ่มก่อสร้างอาคารพิพิธภัณฑ์ ธรรมชาติวิทยา และอาคารพิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีสารสนเทศ

          ปี 2543 เปิดให้บริการพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์อย่างเป็นทางการ ในวันที่ 8 มิถุนายน2543

 

 

 

 

สถานที่

          องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติเทคโนธานี ถ.รังสิต-นครนายก ต. คลองห้า อ. คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120 โทร. 0-2577-9999 วันเวลาเปิดให้บริการวันอังคาร - วันศุกร์ ตั้งแต่เวลา 09.30 - 16.00 น.
วัน เสาร์-วันอาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 09.30 - 17.00 น. (หยุดวันจันทร์) ใช้เวลาเข้าชมพิพิธภัณฑ์ ฯ ทั้ง 6 ชั้น ประมาณ 2 - 3 ชั่วโมง และใช้เวลาเข้าชมพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา ประมาณ 45 นาที - 1 ชั่วโมง



แหล่งอ้างอิง http://travel.kapook.com/view1042.html